วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ลำไย.. ..ใครคือผู้กำหนดราคา?

ลำไย.. ..ใครคือผู้กำหนดราคา?

บทนำ

“ลำไย” เป็นผลไม้ที่ตลาดยังมีความต้องการอีกมาก ทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศขายได้ในระดับราคาที่น่าพอใจ สามารถส่งออกได้ทั้งในลักษณะลำไยสด ลำไยแช่แข็ง ลำไยกระป๋อง และลำไยอบแห้ง มีโอกาสทางการตลาดที่สดใส สามารถนำเงินตราเข้าประเทศได้ปีละหลายร้อยล้านบาท และมีแนวโน้มว่าปริมาณและมูลค่าการ ส่งออกเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งลักษณะเช่นนี้น่าจะทำให้เกษตรกรผู้ปลูกลำไยได้รับผลตอบแทนเป็นที่น่าพอใจ แต่ในความเป็นจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย เกษตรกรที่ขายลำไยส่วนใหญ่จะตอบเป็นเสียง เดียวกันว่า “ลำไยของตัวเองขายได้ราคาที่ต่ำเกินไป” ทำให้เกิดข้อสงสัยขึ้นมาว่า “ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?”

ลักษณะการซื้อขายลำไย

ด้วยข้อสงสัยดังกล่าว ผู้เขียนจึงได้เดินทางไปเก็บข้อมูลเบื้องต้นที่จังหวัดลำพูน ซึ่งถือได้ว่าเป็นแหล่งปลูกลำไยที่สำคัญของประเทศ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์และการสังเกตุ พบว่า เกษตรกรยังคงนิยมขายลำไยอยู่ 2 รูปแบบ คือ
1. ขายแบบเหมาสวน ซึ่งในอดีตมีการตกลงขายเหมาสวนเมื่อลำไยออกช่อดอก แต่ในปัจจุบันเนื่องจากความไม่แน่นอนของดินฟ้าอากาศและปริมาณผลผลิตที่ยากต่อการคาดคะเน ทำให้เกษตรกรและพ่อค้าคนกลางนิยมขายเหมาเมื่อลำไยออกผลเรียบร้อยแล้ว โดยส่วนใหญ่พ่อค้า คนกลางจะจ่ายเงินมัดจำไว้ก่อนประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งลักษณะการซื้อขายแบบนี้ทำให้เกิดความเสี่ยงทั้งเกษตรกรและพ่อค้าคนกลางที่เข้ามาซื้อ แต่เกษตรกรจะมีความเสี่ยงมากกว่าถ้าหากปีนั้นลำไยราคาไม่ดี พ่อค้าคนกลางเห็นว่าหากรับซื้อลำไยจากเกษตรกรไปก็จะทำให้ประสบกับปัญหาการขาดทุนได้ พ่อค้าคนกลางก็จะไม่มารับซื้อต่อโดยยอมเสียเงินมัดจำให้แก่เกษตรกรแทน ทำให้เกษตรกรต้องแบกรับภาระในการหาตลาดสำหรับขายลำไยในสภาวะที่ลำไยมีราคาตกต่ำ
2. เกษตรกรขายเอง ซึ่งเป็นวิธีการที่นิยมขายกันมากในปัจจุบัน โดยเกษตรกรอาจจะขายลำไยเองที่สวน หรือมีพ่อค้ามารับซื้อถึงสวน หรือนำไปวางขายที่ตลาด หรือนำไปขายที่จุดรับซื้อของพ่อค้าคนกลาง โดยเกษตรกรอาจจะขายแยกตามเกรดหรือขายคละก็ได้ จากการสังเกตุพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมนำไปขายที่จุดรับซื้อของพ่อค้าคนกลาง เพราะมีความสะดวกและขายได้ในปริมาณที่มากกว่าเมื่อเทียบกับวิธีอื่นๆ

ดังนั้นผู้เขียนจะขอนำเสนอถึงขั้นตอนการซื้อขายโดยการนำไปขายที่จุดรับซื้อของพ่อค้าคนกลาง ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านได้รับคำตอบว่า “เพราะเหตุใดเกษตรกรถึงไม่พอใจในราคาที่ได้รับ?”

ขั้นตอนการซื้อขายโดยการนำไปขายที่จุดรับซื้อของพ่อค้าคนกลาง
1. เริ่มแรกเกษตรกรจะต้องไปรับตะกร้าพลาสติกมาจากพ่อค้าคนกลางที่ตนเองต้องการจะขาย โดยเกษตรกรจะต้องจ่ายค่ามัดจำสำหรับตะกร้าที่รับมาด้วย ซึ่งค่ามัดจำของพ่อค้าคนกลางแต่ละรายอาจจะเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้
2. เมื่อเกษตรกรได้รับตะกร้าพลาสติกมาแล้ว ก็จะนำเอาลำไยที่เก็บเสร็จแล้วมาคัดเอาลูกที่เสียออกและแยกเกรดบรรจุลงในตะกร้า ซึ่งน้ำหนักของลำไยที่บรรจุจะมีน้ำหนักแตกต่างกันออกไปตามแต่ลักษณะตะกร้าของพ่อค้าคนกลางแต่ละราย เช่น ขนาดบรรจุ 12 กิโลกรัม แบ่งเป็นน้ำหนักของตะกร้า 1 กิโลกรัม และน้ำหนักลำไย 11 กิโลกรัม เป็นต้น
3. หลังจากที่เกษตรกรบรรจุลำไยใส่ตะกร้าเรียบร้อยแล้ว ก็จะนำลำไยไปขายยังจุดรับซื้อของพ่อค้าคนกลาง ซึ่งวิธีการขนส่งส่วนใหญ่นิยมขนส่งโดยใช้รถกระบะ 4 ล้อ เป็นที่น่าสังเกตุว่าเกษตรกรส่วนใหญ่จะนำไปขายในช่วงเย็นประมาณ 5 โมงเย็นเป็นต้นไป ทั้งนี้เนื่องจากเกษตรกรมักจะเก็บลำไยในตอนเช้าและตอนกลางวัน จากนั้นก็จะบรรจุลงตะกร้ากว่าจะเสร็จเรียบร้อยก็เป็นเวลาเย็น ทำให้ในช่วงเวลาดังกล่าวมีเกษตรกรจำนวนมากที่รอขายลำไยตรงจุดรับซื้อของพ่อค้า
4. เมื่อไปถึงจุดรับซื้อของพ่อค้าคนกลางแล้ว เกษตรกรก็จะขนลำไยลงจากรถแล้ววางไว้ตามที่พ่อค้าคนกลางกำหนด จากนั้นก็ต้องรอคิวเพื่อให้พ่อค้าคนกลางมากำหนดราคารับซื้อลำไยของตนเอง
5. เมื่อถึงคิวของตนเองแล้ว พ่อค้าคนกลางจะเปิดดูลำไยในตะกร้าเพื่อที่จะบอกว่าลำไยในตะกร้าใบนั้นจะให้ราคากิโลกรัมละกี่บาท จุดนี้เองที่ทำให้ทราบว่าเพราะเหตุใดเกษตรกรถึงไม่พอใจในราคาที่ได้รับ เพราะการกำหนดราคาของพ่อค้าคนกลางอาศัยการดูด้วยสายตาและจับดูลำไยในตะกร้าแล้วก็บอกว่ากิโลกรัมละกี่บาท พ่อค้าคนกลางอาจจะเปิดดูทุกตะกร้าหรือเลือกสุ่มบางตะกร้าก็ได้ ถ้าพ่อค้าคนกลางเปิดดูทุกตะกร้าเกษตรกรก็อาจจะได้ขายในราคาที่แตกต่างกันในแต่ละตะกร้า หรือถ้าเป็นที่รู้จักคุ้นเคยกันพ่อค้าคนกลางก็อาจจะสุ่มเลือกเปิดบางตะกร้าแล้วกำหนดเป็นราคาสำหรับรับซื้อลำไยที่นำมาขายทั้งหมดก็ได้

จากการสังเกตุพบว่าอำนาจการตั้งราคาเบ็ดเสร็จอยู่ที่พ่อค้าคนกลาง บางครั้งลำไยใน 2 ตะกร้าที่เก็บมาจากต้นเดียวกันราคาที่ได้รับก็ไม่เท่ากัน เกษตรกรมีอำนาจในการต่อรองราคาที่น้อยมากหรือบางรายก็ไม่มีเลย พ่อค้าคนกลางบอกราคาเท่าไหร่เกษตรกรก็จำใจต้องขายในราคาเท่านั้น ถึงแม้จะรู้สึกว่าไม่พอใจในราคาที่ได้รับก็ตามที เพราะเมื่อขนลำไยไปถึงจุดรับซื้อของพ่อค้าคนกลางแล้ว เกษตรกรจะขนกลับก็ยังไม่รู้ว่าจะนำลำไยไปขายที่ไหนได้หมดภายในระยะเวลาที่จำกัด เนื่องจากวิธีการขายแบบอื่นๆ จะขายได้ในปริมาณที่น้อยแต่เกษตรกรเก็บลำไยแต่ละครั้งในปริมาณที่มาก

สรุป

ผลสรุปจากการสัมภาษณ์และสังเกตุที่ผู้เขียนนำเสนอแล้วข้างต้น คงจะทำให้ผู้อ่านได้รับคำตอบแล้วว่า “เพราะเหตุใดเกษตรกรถึงไม่พอใจในราคาที่ได้รับ?” และ “ใครคือผู้กำหนดราคาลำไยที่แท้จริง” ส่วนในปีฤดูการผลิตลำไยปี 2552 นี้ ผู้เขียนเชื่อว่าระบบการซื้อขายลำไยจะยังคงเป็นแบบรูปแบบเดิมอย่างนี้อยู่ต่อไป หากหลาย ๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาของลำไย แล้วท่านผู้อ่านคิดอย่างไรกับปัญหาการซื้อขายลำไยที่จะเกิดขึ้นในปี 2552 นี้?

7 ความคิดเห็น:

  1. ความเห็นข้างล่างนี้เป็นความเห็นของนักศึกษาสาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยแม่โจ้

    1. ความเห็น โดย กลุ่มที่ 2 Section 3 — มิถุนายน 16, 2009 @ 9:48 am

    ทางออกที่เหมาะสมจากกระทู้ ลำไย ใครคือผู้กำหนดราคาที่แท้จริง สรุปออกมาได้ดังนี้

    เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยในขณะนี้อยู่ในช่วงตกต่ำจึงส่งผลกระทบให้กลุ่มผู้เกษตรกรเนื่องจากในปีที่ผ่านมาตลาดมีความต้องการซื้อขายลำไยที่ลดลงและมีแนวโน้มว่าจะลดลงไปอีกอย่างต่อเนื่อง แต่รัฐบาลไทยยังประสบปัญหาการระบายผลผลิตของลำไยจึงทำให้ราคาลำไยตกตำส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้ลดลงและเกษตรกรมีหนี้สินเพิ่มขึ้เนื่องจากใช้ต้นทุนในการผลิตลำไยสูงมากและในปัจจุบันเศรษฐกิจตกต่ำทำให้ผูบริโภคชะลอการจับจ่ายทำให้มีผลกระทบต่อทุกคนทุกอาชีพไม่เว้นแม้กระทั่งพ่อค้าคนกลางจึงทำให้พ่อค้าคนกลางกดราคาลำไยให้ต่ำลงเกษตรกรจึงถูกเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลางดังนั้นทางออกในการแก้ปัญหาราคาลำไยที่ตกต่ำสามารถทำได้โดย

    - 1. จัดตั้งศูนย์ลำไยส่วนภูมิภาคโดยสมาชิกกลุ่มและผู้บริหารมาจากเกษตรกรผู้ปลูกลำไยในแต่ละภูมิภาค
    มีการดำเนินงานคือ
    1.1 กำหนดราคาเพื่อให้ได้ราคามาตรฐานในแต่ละปีโดยให้เกษตรกรเป็นผู้เสนอราคาเองและให้ศูนย์วิจัยลำไยเป็นผู้คัดเลือกราคาที่แท้จริง
    1.2 กำหนดคุณภาพ(เกรดลำไย)ให้เหมาะสมตามราคาที่ไดกำหนดไว้โดยให้เกษตรกรเป็นผู้เสนอราคาเอง และศูนย์วิจัยลำไยเป็นผู้คัดเลือกราคาที่แท้จริง
    1.3 ให้กลุ่มสมาชิกแปรรูปลำไย เมื่อมีลำไยล้นตลาด เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ และขยายสายผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มโอกาสให้ลำไยได้ขยายไปสู่ตลาดที่กว้างขึ้น โดยกลุ่มเราคิดว่าผลิตภัณฑ์ลำไยที่แปรรูป ควรจะมี อาทิ เช่น ไวน์ลำไย ชาลำไยผสมเก๊กฮวย น้ำยาบ้วนปากลำไยและไข่มุก เป็นต้น

    - แนะนำให้มีการเร่งกระจายผลผลิตในช่วงฤดูกาล และประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศและต่างประเทศ การเร่งผลักดันการส่งออก

    - เกษตรกรในจังหวัดฯ น่าจะหันมาปลูกพืชผลชนิดอื่นที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมภายในพื้นที่แทนที่จะปลูกลำใยกันทั้งจังหวัด หรืออาจปลูกพืชตามฤดูกาลรวมกับลำใย เพราะลดความเสี่ยงในขาดทุนกับเกษตรกร นอกจากนี้อาจจะสนับสนุนให้กลุ่มแม่บ้านในท้องถิ่นไปอบรมความรู้เกี่ยวกับการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรจากลำใย เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์จากลำใย

    2.ความเห็น โดย sec3 กลุ่ม7 — มิถุนายน 16, 2009 @ 9:50 am

    จากบทความที่ได้อ่านสรุป และที่ได้ทำการสังเคราะห์มีความเห็นว่า
    - การแก้ไขปัญหาลำไยปี52 ให้รัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือทั้งในด้านราคา และลำไยที่เหลือล้นตลาด
    ให้จัดตั้งหน่วยงานมาดูแลอย่างใกล้ชิด
    - ให้ผู้เชี่ยวชาญของรัฐบาลมาให้ความรู้แก่เกษตรกรในด้านการรักษาคุณภาพผลผลิต
    - ส่งเสริมผลิตภัณฑ์แปรรูปของลำไยให้แก่กลุ่มแม่บ้าน
    - กระจายสินค้าออกสู่ต่างประเทศ และให้รัฐบาลตั้งมาตรฐานการส่งออกอย่างชัดเจน
    - ลดการรับจำนำลำไย เพราะจะทำให้ลำไยตกค้างมาก
    - ทำ EVEN และสื่อโฆษณาต่างๆ เข้ามาช่วยในการสื่อสาร
    - ให้ความรู้ในการควบคุมต้นทุนการผลิตของเกษตรกร
    - ส่งเสริมทางด้านการท่องเที่ยวกลุ่มผลิตภัณฑ์ OTOP

    3. ความเห็น โดย กลุ่มที่ 8 section 3 — มิถุนายน 16, 2009 @ 9:57 am

    ปัญหาที่ประสบมากที่สุดคือ
    1 อำนาจการต่อรองราคาผลผลิตราคาลำไยของเกษตรกร
    แนวทางการแก้ไขปัญหารัฐบาลควรจัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง คือจัดตั้งสำนักงานสถานที่ แบ่งตามจังหวัดใหญ่ๆ รองรับไว้ เป็นสำนักงานไว้ สำนักงานนี้จะรองรับผลผลิตจากเกษตรกร จากทุกฤดูกาล เพื่อ ป้องกันการตัดราคาจากพ่อค้าคนกลาง
    2 ผลผลิตลำไย ตกต่ำ
    แนวทางการแก้ไขปัญหา ส่งเสริมการปลูกพืชหมุนเวียนตามสภาพแวดล้อม ปลูกพืชผลที่หลากหลายเพื่อป้องกันผลผลิตล้นตลาด
    3 โควตาจากรัฐบาล
    แนวทางการแก้ไขปัญหา รัฐบาลควร ให้โควตาแก่ภาคเอกชนให้มากขึ้นจะทำให้ จุดรับซื้อมีความหลากหลายเกษตรกรจะได้ไม่รอนาน ในการจัดจำหน่าย มีความคล่องตัวมากขึ้น
    4 การทุจริต
    แนวทางการแก้ไขปัญหา ตรวจสอบจากจุดรับซื้อทุกหน่วย จัดตั้งองค์กรความรับผิดชอบเกี่ยวกับการทุจริต โดยตรง เนื่องจากปีที่ผ่านมา มีการทุจริตมากมาย ผลผลิตไม่ได้มาตรฐาน ทำให้รัฐบาลเกิดความเสียหาย โดยต้องนำผลผลิตที่ไม่ได้มาตรฐานไปทำลายที่ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน

    ตอบลบ
  2. ความเห็นข้างล่างนี้เป็นความเห็นของนักศึกษาสาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (ต่อ)

    4. ความเห็น โดย กลุ่ม8 Sec4 — มิถุนายน 16, 2009 @ 11:01 am กลุ่ม6sec3

    จากการสังเคราะห์ความคิดเห็นทั้งหมดสรุปได้ว่า
    1 ปัญหาส่วนใหญ่คือด้านราคาและผลผลิตที่เยอะเกินไป การแก้ไขคือ รัฐบาลควรเข้ามาประกันราคาและลำไยที่ล้นตลาดโดยให้จัดตั้งกลุ่มที่สามารถดูแลและตอบปัญหาเกษตรกรได้
    2 ด้านการส่งเสริม รัฐควรวางแผนผลักดันให้ลำไยออกนอกประเทศไม่ว่าจะสดหรือแปลรูปและตั้งมาตรฐานในการส่งออกด้วย
    3 ด้านกิจกรรมในประเทศ เช่น มีการสัมมนาความรู้ด้านลำไยให้เกษตรกร จัดงานเสนอสินค้าด้านลำไยทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นด้านอาหาร หรือด้านยารักษาโรค เป็นต้น
    สรุปคือรัฐกับเกษตรกรควรช่วยกันแก้ไขปัญหาร่วมกันเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดและหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาในทางที่ดีที่สุด aun_chet@hotmail.com

    5. ความเห็น โดย กลุ่ม 5 sec. 3 — มิถุนายน 16, 2009 @ 11:08 am
    กลุ่ม 5 sec.3

    จากการสังเคราะห์ข้อมูลข้างต้นสามารถสรุปถึงสาเหตุที่ส่งผลให้ลำใยราคาตกต่ำได้ ซึ่งประกอบด้วย ปัญหาลำใยล้นตลาด การกดราคาของพ่อค้าคนกลาง การช่วยเหลือจากรัฐบาลที่น้อยเกินไปราคาของลำใยที่ตกต่ำ เงินทุนของเกษตรกรที่มีน้อย แต่มีต้นทุนการผลิตสูง ภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ประเทศคู่แข่งที่มีอำนาจต่อรองเพิ่มมากขึ้น เช่น ประเทศจีน

    แนวทางการแก้ไขที่สามารถที่สรุปได้

    – การช่วยเหลือของรัฐบาลที่จะต้องมากกว่านี้ เช่น การให้ความรู้การประกันราคา การให้เงินทุน การทำสัญญาที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ค้าลำใยกับประเทศคู่ส่งออก เช่น จีน การส่งเสริมการส่งออก
    – การแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าเพิ่ม เช่น การนำลำใยทำลำใยอบแห้ง ทำแยม
    – การที่ทั้งรัฐบาลและเกษตรกรไม่เข้าใจซึ่งกันและกันเกษตรกรไม่ค่อยยอมรับข้อเสนอที่รัฐบาลให้ไปทำให้ห้เกิดปัญหาซับซ้อน
    – รัฐบาลควรจัดเทศกาลเกี่ยวกับลำใยเพื่อโปรโมทให้คนไทยกินผลไม้ไทยเพิ่มมากขึ้นเกษตรกรจะได้มีรายได้จากหลายทาง เช่น มีการให้แข่งการกินลำใยจุ เป็นต้น เพื่อใคนไทยหันมาสนใจเพิ่มขึ้น
    – หน่วยงานต่างๆควรช่วยเหลือเกษตรกรในการโฆษนาเกี่ยวกับคุณภาพลำใยในแต่ละปีว่ากินลำใยแล้วได้ประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไรบ้าง
    – ให้เกษตรกรมีการช่วยเหลือตัวเองมากขึ้น เช่น มีการทำเป็นสวนลำใยเปิด คือ ให้ประชาชนเข้าสวนกินลำใยบุพเฟย์
    – เกษตรกรต้องเว้นช่วงการปลูกลำใยนอกฤดูเพื่อป้องกันปัญหาลำใยล้นตลาด

    ตอบลบ
  3. ความเห็นข้างล่างนี้เป็นความเห็นของนักศึกษาสาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (ต่อ)

    6 ความเห็น โดย กลุ่ม 3 SEC 3 — มิถุนายน 16, 2009 @ 11:13 am

    สำหรับแนวทางแก้ไขปัญหาลำไยจากจากบทความที่ได้อ่านสรุป

    ได้ทำการสังเคราะห์มีความเห็นว่า comment ส่วนมากก็จะเน้นให้ภาครัฐเข้ามามีบทบาทในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับลำไยในทุกๆด้าน
    ในปี52นี้ทางด้านเกษตรกรน่าจะมีการกระจายสินค้าในชุมชน และดัดแปลงผลิตภัณฑ์ ส่งออกทั้งในและนอกประเทศ และไม่ควรที่จะปลูกลำไยนอกฤดูกาล เพราะพอถึงฤดูกาลลำไยก็จะมีผลผลิตจำนวนมากก็ควรจะมีการ ถนอมลำไย และ นำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ หลายๆแขนง
    เช่น ผลิตภัณฑ์โรงงาน ทางด้านความสวยความงาม ทางการแพทย์ เพราะส่วนต่างๆของลำไยมีคุณสมบัติที่มหัศจรรย์มาก

    7 ความเห็น โดย กลุ่ม 1 sec:3 — มิถุนายน 16, 2009 @ 11:19 am
    กลุ่มที่ 1 Sec 3 Hello_kitty0623@hotmail.com

    แนวทางการเเก้ไขปัญหาในปี 2552
    1.รัฐบาลกับเอกชนควรร่วมมือกันแก้ไขปัญหาราคาลำไยตกต่ำ รวมทั้งการส่งออกประเทศ และมีการตั้งด่านตรวจสอบการทุจริต
    2.ให้มีการตรวจสอบทั้งทางคุณภาพ มาตรฐาน ความปลอดภัยด้านสุขอนามัย การปลอดสารเคมีสารกำจัดศัตรูพืช และปลอด GMOs
    3.ภาครัฐควรเร่งการส่งเสริมตลาดเพื่อขยายการส่งออกในตลาดเดิม ตลาดใหม่ ทั้งในและนอกประเทศ โดยเฉพาะตลาดค้าชายแดน เพราะจะช่วยให้สามารถระบายผลผลิตออกไปสู่ตลาดพร้อมกันได้
    4.จัดให้มีการส่งเสริมกลุ่มแม่บ้านชาวเกษตรกรให้มีความรู้ในการแปรรูปลำไย เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้
    5.มีการซื้อขายลำไยล่วงหน้าก่อนผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 3-4 เดือน เพื่อเป็นการประกันราคาเเก่
    ชาวเกษตรกร


    8 ความเห็น โดย กลุ่ม4 sec3 — มิถุนายน 16, 2009 @ 11:29 am

    แนวทางการแก้ไขปัญหาราคาลำไย ปี 2552

    1.รัฐบาลประกันราคาขั้นต่ำเพื่อป้องกันการเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง
    2.ควรมีการกำหนดพื้นที่การปลูกลำไยเพื่อป้องกันผลผลิตล้นตลาด
    3.ควรมีการส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตให้มากขึ้นเพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลผลิต
    4.ควรมีการส่งเสริมให้มีการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยเพื่อให้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพเป็นที่พอใจของลูกค้าเพื่อจะได้ไม่เกิดปํญหาการส่งคืนสินค้าและเกษตรกรจะได้ไม่ขาดทุน
    5.รัฐบาลควรสนับสนุนเงินลงทุนด้านเครื่องจักร และอุปกรณ์ต่างๆในการแปรรูป เช่นรัฐบาลอาจจะให้งบประมาณมาและให้ชาวสวนลำไยยังคงต้องการเครื่องจักรและอุปกรณ์แปรรูปกู้เงินนั้นในอัตราดอกเบี้ยต่ำ
    6.รัฐบาลควรส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรชาวสวนลำไยเพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันและเพิ่มอำนาจในการต่อรองราคากับพ่อค้าคนกลาง
    7.รัฐบาลควรส่งเสริมการจัดจำหน่ายเช่นหาตลาดใหม่ๆ เร่งการผลักดันการส่งออกให้แก่เกษตรกรเพื่อช่วยในการกระจายผลผลิตและเพิ่มการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการบริโภคทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
    -เจาะตลาดที่สำคัญ ตามลำดับ ได้แก่ จีน อินโดนิเซีย ฮ่องกง สหรัฐ แคนาดา สิงคโปร์ เนเธอร์แลนด์ เป็นต้น
    8.ควรรวมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ผู้ผลิตเกิดความตระหนักในเรื่องการผลิตที่ดีเพื่อส่งออกที่ได้มาตราฐานตามประเทศผู้นำเข้ากำหนด
    9.เจราจาเพื่อลดข้อกีดกันทางการค้า เช่น เร่งรัดให้มีการลงนาม MOU ร่วม 2 ฝ่าย ระหว่างไทยและจีนในการขนส่งสินค้าผลไม้ทางบก
    10.ภาครัฐและเอกชนมีความร่วมมือกันควรศึกษาระบบโลจิสติกส์จากแหล่งผลิตถึงตลาดปลายทางในแต่ละเส้นทางการขนส่งผลไม้เพื่อให้มีการปรับปรุงพัฒนาในการลดต้นทุนของการส่งออกผลไม้
    11.ควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับด้านเทคนิค ประชามสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจต่อเกษตรและชาวสวนผู้ส่งออกเกี่ยวกับความเข้มงวดในการตรวจสอบ สารตกค้าง โรค พืช แมลง และการออกหนังสือรับรองสุขอานามัยเพื่อการส่งออก
    12.ภาครัฐควรเร่งการส่งเสริมตลาดเพื่อขยายการส่งออกในตลาดเดิม ตลาดใหม่ โดยเฉพาะตลาดค้าชายแดน
    เหตุผล เพราะ สามารถระบายผลผลิตผลไม้ที่ออกสู่ตลาดพร้อมกันได้
    13.ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาเป็นที่เป็นที่ปรึกษา และจัดวิทยากร นักวิชาการมาให้ความรู้แก่เกษตรกร เช่น นำลำไยมาแปรรูปเป็น ชาผงลำไย เนื่องจากลำไยมีคุณสมบัติ ต่อต้านอนุมูลอิสระเหมือนกับชาเขียวญี่ปุ่น ซึ่งในปัจจุบันผู้คนหันส่วนมากหันมาใส่ใจสุขภาพมากยิ่งขึ้น

    ตอบลบ
  4. ความเห็นข้างล่างนี้เป็นความเห็นของนักศึกษาสาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (ต่อ)

    9 ความเห็น โดย กลุ่ม 3 SEC 3 — มิถุนายน 16, 2009 @ 11:13 am

    สำหรับแนวทางแก้ไขปัญหาลำไยจากจากบทความที่ได้อ่านสรุป

    ได้ทำการสังเคราะห์มีความเห็นว่า comment ส่วนมากก็จะเน้นให้ภาครัฐเข้ามามีบทบาทในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับลำไยในทุกๆด้าน
    ในปี52นี้ทางด้านเกษตรกรน่าจะมีการกระจายสินค้าในชุมชน และดัดแปลงผลิตภัณฑ์ ส่งออกทั้งในและนอกประเทศ และไม่ควรที่จะปลูกลำไยนอกฤดูกาล เพราะพอถึงฤดูกาลลำไยก็จะมีผลผลิตจำนวนมากก็ควรจะมีการ ถนอมลำไย และ นำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ หลายๆแขนง
    เช่น ผลิตภัณฑ์โรงงาน ทางด้านความสวยความงาม ทางการแพทย์ เพราะส่วนต่างๆของลำไยมีคุณสมบัติที่มหัศจรรย์มาก

    10 ความเห็น โดย กลุ่ม 1 sec:3 — มิถุนายน 16, 2009 @ 11:19 am

    จากการสังเคราะห์ 38 ความเห็น
    แนวทางการเเก้ไขปัญหาในปี 2552
    1.รัฐบาลกับเอกชนควรร่วมมือกันแก้ไขปัญหาราคาลำไยตกต่ำ รวมทั้งการส่งออกประเทศ และมีการตั้งด่านตรวจสอบการทุจริต
    2.ให้มีการตรวจสอบทั้งทางคุณภาพ มาตรฐาน ความปลอดภัยด้านสุขอนามัย การปลอดสารเคมีสารกำจัดศัตรูพืช และปลอด GMOs
    3.ภาครัฐควรเร่งการส่งเสริมตลาดเพื่อขยายการส่งออกในตลาดเดิม ตลาดใหม่ ทั้งในและนอกประเทศ โดยเฉพาะตลาดค้าชายแดน เพราะจะช่วยให้สามารถระบายผลผลิตออกไปสู่ตลาดพร้อมกันได้
    4.จัดให้มีการส่งเสริมกลุ่มแม่บ้านชาวเกษตรกรให้มีความรู้ในการแปรรูปลำไย เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้
    5.มีการซื้อขายลำไยล่วงหน้าก่อนผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 3-4 เดือน เพื่อเป็นการประกันราคาเเก่
    ชาวเกษตรกร


    11 ความเห็น โดย กลุ่ม4 sec3 — มิถุนายน 16, 2009 @ 11:29 am

    แนวทางการแก้ไขปัญหาราคาลำไย ปี 2552

    1.รัฐบาลประกันราคาขั้นต่ำเพื่อป้องกันการเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง
    2.ควรมีการกำหนดพื้นที่การปลูกลำไยเพื่อป้องกันผลผลิตล้นตลาด
    3.ควรมีการส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตให้มากขึ้นเพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลผลิต
    4.ควรมีการส่งเสริมให้มีการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยเพื่อให้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพเป็นที่พอใจของลูกค้าเพื่อจะได้ไม่เกิดปํญหาการส่งคืนสินค้าและเกษตรกรจะได้ไม่ขาดทุน
    5.รัฐบาลควรสนับสนุนเงินลงทุนด้านเครื่องจักร และอุปกรณ์ต่างๆในการแปรรูป เช่นรัฐบาลอาจจะให้งบประมาณมาและให้ชาวสวนลำไยยังคงต้องการเครื่องจักรและอุปกรณ์แปรรูปกู้เงินนั้นในอัตราดอกเบี้ยต่ำ
    6.รัฐบาลควรส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างเครือข่ายกลุ่มเกษตรกรชาวสวนลำไยเพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันและเพิ่มอำนาจในการต่อรองราคากับพ่อค้าคนกลาง
    7.รัฐบาลควรส่งเสริมการจัดจำหน่ายเช่นหาตลาดใหม่ๆ เร่งการผลักดันการส่งออกให้แก่เกษตรกรเพื่อช่วยในการกระจายผลผลิตและเพิ่มการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการบริโภคทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
    -เจาะตลาดที่สำคัญ ตามลำดับ ได้แก่ จีน อินโดนิเซีย ฮ่องกง สหรัฐ แคนาดา สิงคโปร์ เนเธอร์แลนด์ เป็นต้น
    8.ควรรวมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ผู้ผลิตเกิดความตระหนักในเรื่องการผลิตที่ดีเพื่อส่งออกที่ได้มาตราฐานตามประเทศผู้นำเข้ากำหนด
    9.เจราจาเพื่อลดข้อกีดกันทางการค้า เช่น เร่งรัดให้มีการลงนาม MOU ร่วม 2 ฝ่าย ระหว่างไทยและจีนในการขนส่งสินค้าผลไม้ทางบก
    10.ภาครัฐและเอกชนมีความร่วมมือกันควรศึกษาระบบโลจิสติกส์จากแหล่งผลิตถึงตลาดปลายทางในแต่ละเส้นทางการขนส่งผลไม้เพื่อให้มีการปรับปรุงพัฒนาในการลดต้นทุนของการส่งออกผลไม้
    11.ควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับด้านเทคนิค ประชามสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจต่อเกษตรและชาวสวนผู้ส่งออกเกี่ยวกับความเข้มงวดในการตรวจสอบ สารตกค้าง โรค พืช แมลง และการออกหนังสือรับรองสุขอานามัยเพื่อการส่งออก
    12.ภาครัฐควรเร่งการส่งเสริมตลาดเพื่อขยายการส่งออกในตลาดเดิม ตลาดใหม่ โดยเฉพาะตลาดค้าชายแดน
    เหตุผล เพราะ สามารถระบายผลผลิตผลไม้ที่ออกสู่ตลาดพร้อมกันได้
    13.ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาเป็นที่เป็นที่ปรึกษา และจัดวิทยากร นักวิชาการมาให้ความรู้แก่เกษตรกร เช่น นำลำไยมาแปรรูปเป็น ชาผงลำไย เนื่องจากลำไยมีคุณสมบัติ ต่อต้านอนุมูลอิสระเหมือนกับชาเขียวญี่ปุ่น ซึ่งในปัจจุบันผู้คนหันส่วนมากหันมาใส่ใจสุขภาพมากยิ่งขึ้น

    ตอบลบ
  5. ความเห็นข้างล่างนี้เป็นความเห็นของนักศึกษาสาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (ต่อ)

    12 ความเห็น โดย กลุ่ม5 sec 4 — มิถุนายน 16, 2009 @ 2:10 pm
    จากการวิเคราะหืความคิดเห็นเรื่อง ลำไย ใครคือผุ้กำหนดราคา? สรุปได้ว่า จากความคิดเห็นส่วนใหญ่พ่อค้าคนกลางคือผุ้กำหนดราคาซึ่งทำให้เกษตรกรไม่มีอำนาจในการต่อรองราคาทำให้ราคาลำไยต่ำและผลผลิตที่มากเกินไปทำให้ลำไยล้นตลาดจึงทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมาอีกมากฉะนั้นรัฐบาลควรเข้ามาแทรกแซงในการกำหนดราคาเพื่อให้มีความเป็นกลางต่อเกษตรกรและพ่อค้าคนกลางนอกจากนั้นแล้วปัญหาลำไยล้นตลาดก็สามารถสรุปการแก้ปัญหาได้ว่าควรจะนำลำไยมาแปรรูปในลักษณะต่างๆตามความคิดเห็นที่ผ่านมาและทางกลุ่มเราขอเสนอแนะวิธีแก้ปัญหาเพิ่มเติมว่าให้เกษตรกรรวมกลุ่มทำโครงการเยี่ยมชมสวนลำไยและสามารถเลือกทานลำไยสดๆจากต้นลำไยได้เลยและยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวและยังเป็นการช่วยกระจายรายได้สู่เกษตรกรอีกทางหนึ่งด้วย

    13 ความเห็น โดย กลุ่ม 6 sec 4 — มิถุนายน 16, 2009 @ 2:21 pm

    สรุปแนวทางการแก้ไขปัญหาจากความคิดเห็นข้างต้น
    โดยความคิดเห็นส่วนใหญ่คิดว่า ปัญหาราคาลำไยที่ตกต่ำควรจะได้รับความช่วยเหลือและแก้ปัญหาจากทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างจริงจัง ทั้งในเรื่องของการวางแผนตั้งแต่การผลิตจนถึงการจัดจำหน่ายโดยมีการร่วมวางแผนกับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกลำไย ดังนี้
    1.การแปรรูปรูปลำไยเพื่อเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ เป็นการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรอีกทางหนึ่ง
    2.จัดหาช่องทางในการกระจายสินค้าให้ได้มากที่สุดเพื่อลดต้นทุนในการเก็บรักษา
    3.จัดตั้งสมาคมผู้ปลูกลำไยส่วนภูมิภาคเพื่อควบคุมคุณภาพของลำไยระดับราคา และระดมกำลังในการแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที
    4.วางแผนการปลูกโดยให้รัฐจำกัดพื้นที่ในการปลูกลำไย เพื่อลดความเสี่ยงของปัญหาลำไยล้นตลาด�
    ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ราคาลำไยตกต่ำลง โดยส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน เพื่อป้องกันผู้ปลูกรายใหม่เกิดขึ้น
    5.ให้ภาครัฐส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยเปิดสวนลำไยให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว เพื่อไม่ให้เกษตรกรคิดว่ารายได้มาจากการปลูกลำไยอย่างเดียว
    ขอบคุณข้อมูลความคิดเห็นข้างต้น

    14 ความเห็น โดย กลุ่ม10 Sec.4 — มิถุนายน 16, 2009 @ 2:22 pm

    สรุปได้ว่าแนวทางแก้ปัญหาของลำไยในปี 52 คือ…
    1.นำลำไยมาแปรรูปเป็นผลิตภัฑณ์อื่น เช่น ด้านความสวยความงาม
    2.การส่งเสริมจากภาครัฐในด้านการลงทุนและด้านการเพาะปลูก
    3.จ่ายเงินช่วยเหลือทดแทนแก่ผู้ปลูกลำไย
    4.รัฐบาลควรประกันราคาลำไยให้แก่ผู้ปลูกลำไย ทำให้ผู้ปลูกลำไยมีความเชื่อมั่นมากขึ้น
    5.การส่งเสริมการจัดจำหน่ายโดยการหาตลาดๆใหม่ๆเน้นการส่งออกทั้งในประเทศและต่างประเทศ
    6.รัฐบาลควรส่งเสริมให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างเครือข่ายชาวเกษตรกรผู้ปลูกลำไยเพื่อจะได้ช่วยเหลือกัน
    7.มีการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการบริโภคทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
    8.การปลูกลำไยนอกฤดูช่วยทำให้แก้ปํญหาผลผลิตลำไยล้นตลาด
    9.รัฐบาลควรมีการจัดหาตลาดสำรองเพื่อมารองรับลำไยที่จะล้นตลาด
    10.มีการวางแผนแก้ไขล่วงหน้ามีการซื้อขายล่วงหน้าก่อนผลผลิตออกสู่ตลาดเพื่อป้องกันลำไยล้นตลาด

    ตอบลบ
  6. ความเห็นข้างล่างนี้เป็นความเห็นของนักศึกษาสาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (ต่อ)

    15 ความเห็น โดย กลุ่ม2 sec 4 — มิถุนายน 16, 2009 @ 2:23 pm

    1 มีการแนะนำให้จัดตั้งหรือรวมกลุ่มของชาวเกษตรกรสวนลำไยในรูปแบบกลุ่มสหกรณ์ซึ่งร่วมถึงการแปรรูป
    2 เกษตรควรเป็นผู้กำหนดราคาเอง
    3 ในส่วนของภาครัฐควรที่จะเข้ามาช่วยเหลือและดูแลในการกำหนดราคาลำไยของพ่อค้าคนกลาง
    4 มีการแนะนำให้เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายโดยขยายไปยังห้างร้านที่มีชื่อเสียง
    5 ภาครัฐควรมีการรับประกันราคาผลผลิตลำไย
    6 ภาครัฐควรเข้าควบคุมดูแลรวมไปถึงการให้ความรู้ในการใช้สารเคมิเพื่อเพิ่มปริมาณของผลผลิตและสามารถจำหน่ายได้ทุกฤดูกาลเพื่อลดปัญหาสินค้าล้นตลาด
    7 เกษตรกรควรเป็นผู้หาแหล่งจำหน่ายสินค้าเอง และมีการวางแผนการขายอย่างมีระบบ

    16 ความเห็น โดย กลุ่ม 11 sec.4 — มิถุนายน 16, 2009 @ 2:26 pm

    กลุ่มผมคิดว่า ทางออกที่เหมาะสมของปัญหาลำไยคือ
    1.จะต้องมีการสนับสนุนและเผยเเพร่ความรู้เเก่เกษตรกรในการใช้ปุ๋ยชีวะภาพเพื่อลดต้นทุนในการผลิต และ ไม่ให้มีการปลูกลำไยนอกฤดู เพื่อป้องกันปัญหาลำไยล้นตลาดเมื่อถึงฤดูที่ลำไยออกผล
    2.ส่งเสริมให้เกษตรกรมีความรู้ในการปลูกพืชหลากหลายชนิดเพื่อป้องกันปัญหาลำไยล้นตลาด
    3.ให้มีการกระจายสินค้าออกสู่ต่างประเทศ เพื่อป้องกันปัญหาลำไยล้นตลาดในประเทศ
    4.รัฐบาลควรมีการจัดตั้งศูนย์ลำไยในภูมิภาค เพื่อป้องกันการกดราคาสินค้าจากพ่อค้าคนกลาง
    5.ส่งเสริมให้เกษตรกรมีการนำลำไยมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองราคาให้กับเกษตรกรในภาพรวม
    6.ให้รัฐบาลมีการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับลำไยว่ามีประโยชน์อย่างไรบ้าง
    7.รัฐบาลควรมีการส่งเสริมการขายและมีการโฆษณาเกี่ยวกับลำไยเพื่อให้ผู้บริโภคหันมาบริโภคลำไยให้มากขึ้น และควรมีการจัด Event ตามสถานที่ต่างๆ
    8.ส่งเสริมให้เกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถมีความภาคภูมิใจต่อการประกอบอาชีพเกษตรกร
    เพื่อสร้างรายได้และอนุรักษ์วัฒนธรรมเกษตรกรของแต่ละท้องถิ่น

    17 ความเห็น โดย กลุ่ม 9 sec.4 — มิถุนายน 16, 2009 @ 2:26 pm

    จะเห็นได้ว่าเกษตรกรได้รับผลกระทบมากอันเนื่องมาจากการกำหนดราคาของพ่อค้าคนกลาง ซึ่งทำให้เกษตรกรได้รับราคาผลผลิตที่ตกต่ำ ทำให้เกษตรกรไม่พึงพอใจกับราคาที่ได้รับจากการขายผลผลิตให้พ่อค้าคนกลางทำให้มีรายได้ไม่คุ้มทุน

    แนวทางการแก้ไขปัญหา

    - นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ได้ราคาสูงขึ้น
    - ปลูกพืชเศรษฐกิจเสริมในสวนลำไยเพื่อสร้างรายได้ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกทาง
    - ให้ภาครัฐและเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการให้ความรู้ ความเข้าใจ และส่งเสริมอาชีพให้แก่เกษตรกร
    - ลดการมีบทบาทของพ่อค้าคนกลาง ให้ความสำคัญกับเกษตรกรเพิ่มมากขึ้น
    - เจาะตลาดต่างประเทศ เพื่อขยายช่องทางในการจัดจำหน่าย
    - ผลิตลำไยนอกฤดูกาล

    ตอบลบ
  7. ความเห็นข้างล่างนี้เป็นความเห็นของนักศึกษาสาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (ต่อ)

    18 ความเห็น โดย กลุ่ม 4 sec4 — มิถุนายน 16, 2009 @ 2:32 pm

    - ส่วนใหญ่พูดถึงเรื่องการประกันราคา อยากให้รัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาราคาลำไยตกต่ำ

    - เกษตรกรไม่มีอำนาจในการต่อรองราคาลำไยต่อพ่อค้าคนกลาง เนื่องจากปริมาณลำไยล้นตลาดทำให้เกษตรกรต้องยอมขายผลผลิต แม้ว่าจะได้ราคาที่ต่ำกว่าต้นทุน

    - เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ราคาน้ำมัน ปุ๋ย ฮอร์โมนเพิ่มผลผลิต มีราคาสูงและค่าแรงคนงาน ที่มีการเพิ่มขึ้นทำให้เกษตรกรแบกรับภาระหนี้สินที่เพิ่มมากขึ้น

    - เกษตรกรยังขาดความรู้ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่ทำจากลำไย อยากให้รัฐบาลเข้ามาช่วยสนับสนุนงบประมาณ ในด้านหาบุคลากร ในด้านให้ความรู้ การลงทุน เพื่อช่วยเหลือให้เกษตรกรได้รวมตัวกัน

    - อยากให้รัฐบาลหาแหล่งตลาดใหม่ๆ ในต่างประเทศเพื่อเป็นการระบายผลผลิตออกต่างประเทศให้มากขึ้น

    19 ความเห็น โดย กลุ่ม 8 sec 4 — มิถุนายน 16, 2009 @ 3:51 pm

    จากความคิดในประเด็น”ลำไยใครคือผู้กำหนดราคา ” จะเห็นได้ว่ามีหลากหลายความคิดที่บางความคิดอาจะเป็นไปได้
    และบางความคิดต้องมีการพัฒนาเพื่อที่จะได้เป็นจริงดังนั้นเราจะต้องมาเรียบเรียงความคิดต่างๆให้เป็นระบบแล้ว จะเห็น
    ได้ว่าผู้ที่มีอำนาจในการกำหนดราคาของลำไย คือ พ่อค้าคนกลาง โดยที่พ่อค้าคนกลางจะใช้วิธีการกำหนดราคาด้วยตาเปล่า
    จึงทำให้ได้ราคาลำไยในราคาที่ต่ำ ทำให้กระทบต่อต้นทุนในการผลิตของเกษตรกร ไม่ว่าจะเป็น ปุ๋ย สารเคมี ในการเพิ่มผลผลิต
    ฯลฯ จากต้นทุนเหล่านี้ทำให้เกษตรกรแทบจะไม่ได้ลืมตาอ้าปาก สาเหตุเหล่านี้เป็นการตอกย้ำว่า พ่อค้าคนกลางเป็นผู้กำหนดราคา
    อย่างแท้จริง ถึงแม้ว่าจะไม่พึงพอใจก็ตาม
    แต่ใช่ว่าเกษตรกรจะหมดสิ้นหนทางและทางเลือกที่จะกล่าวต่อไปนี้ อาจเป็นทางเลือกที่พลิกชีวิตของเกษตรกรบนอาชีพ
    ที่ภาคภูมิใจของตน ทางเลือกง่ายๆคือ การนำผลิตผลที่ตนเองมีอยู่มาผลิต เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้า
    จะเห็นได้ว่า กลุ่มลูกค้าในปัจจุบันมีพฤติกรรมการซื้อและใช้ที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงต้องนำลำไยมาแปรรูปเพื่อเจาะกลุ่มลูกค้่าให้ตรงจุด
    และสร้างความพึงพอใจให้ได้มากที่สุด
    เช่น ผลของลำไยนำไปประกอบหรือส่วนผสมของอาหารและขนมต่างๆ เช่น ก๋วยเตี๋ยวลำไย ไอศครีมลำไย ลำไยกวน ขนมเค้กลำไย
    เป็นต้น
    แต่บางทีผลิตภัณฑ์เหล่านี้อาจจะขายไม่ได้ ถ้าขาดการสร้างความมั่นใจและให้กลุ่มลูกค้ารับรู้ถึงคุณค่าของผลิตภัณฑ์ที่แท้จริง
    จึงจำเป็นต้องสร้างการรับรู้และเน้นกาสรวมกลุ่มที่เข้มแข็งของเกษตรกรในการขับเคลื่อนสร้างผลิตภํณฑ์ของพื้นที่ให้เป็นที่ยอมรับให้กลุ่มลูกค้า
    เกิดการรับรู้และสนใจ เช่น เปิดสวนลำไยบุพเฟ่ มหกรรมลำไยแฟร์ สปาลำไย และอื่นๆอีกมากมาย ซึงก็มีตัวอย่างมาแล้วก็คือหมู่บ้านถวาย
    ทุกอย่างจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าเกษตรกรไม่พึ่งพาตนเองและยังใช้ชีวิตแบบเดิมๆก็จะถูกกดขี่แบบเดิม
    “เกษตรกรไทย ควรสร้างวัฒธรรมใหม่ เพื่อลำไยไทยยั่งยืน”

    20 ความเห็น โดย รณชัย — มิถุนายน 16, 2009 @ 4:28 pm

    ลำใยเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของภาคเหนือโดยเฉพาะเกษตรกรในจังหวัดลำพูนและเชียงใหม่เพราะส่วนใหญ่ของพื้นที่ทั่งหมดจะมีต้นลำใยอยู่ถือว่าเป็นพืชประจำท้องถิ่นเรยก็ว่าได้ ในฤดูการเก็บเกี่ยวก็มักจะประสบปัยหาลำใยล้นตลาดทำให้ราคาตกลงมากทำให้เกษตรกรขาดทุนในการทำสวนลำใยเนื่องจากต้นทุนในการผลิตสูงมากเป็นทุนเดิมอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นปุ๋ย ฮอร์โมนร์ น้ำมัน ไม่เว้นแม้กระทั่งตอนเก็บเกี่ยวก็ต้องจ้างคนงานรายวันวันละไม่ต่ำกว่า200บาทต่อวัน ดังนั้นรัฐควรช่วยกันเข้ามาดูแลเรื่องนี้อาจจะมองว่าเป็นปัญหาเดิมๆแต่ก้มีความสำคัญมากที่จะต้องเข้ามาดูแลอย่างใกล้ชิดเพราะอย่าลืมว่าไม่ใช่แค่เราประเทศเดียวที่มีลำใยเป็นพืชเศรษฐกิจ ยังมีประเทศจีนอีกหนึ่งประเทศที่เริ่มผลิตลำใยได้อย่างมีคุณภาพไม่ต่างจากบ้านเรา แต่ถ้าเรายังแก้ปัญหาไม่ได้และราคาของลำใยยังคงตกต่ำไปเรื่อยๆจนเกาตรกรเลิกทำสวนลำใยไปทำการเกษตรอย่างอื่นกันหมด อีกไม่นานลำใยของจีนคงจะเข้ามาตีตลาดของเราเป็นแน่ แต่ถึงแม้รัฐจะให้การสนับสนุนและทำการแปรรูปแต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะสามารถระบายลำใยออกสู้ท้องตลาดได้ทันเพราะเมื่อเกษตรกรทำการเก็บเกี่ยวลำใยสดแล้วหากทิ้งไว้นานจะทำให้คุณภาพของลำใยลดลง ดังนั้นรัฐควรเร่งที่จะหาตลาดในต่างประเทศมารองรับเพื่อเป็นการระบายลำใยที่จะออกมาในปีนี้สู้ท้องตลาดได้ทันและจะได้ไม่เกิดปัญหาเหมือนอย่างที่เคยเป็นมาเช่นเดียวกับลิ้นจี่ อีกแนวทางหนึ่งรัฐควรทำตัวเป็นพ่อค้าคนกลางเสียเองเพราะหากปล่อยไปแบบนี้ชาวเกษตรกรก็จะประสบปัญหาราคาลำใยตกต่ำเพิ่ทขึ้นหรือไม่ก็ทำโครงการประกันราคาขายลำใยเช่นเดียวกับข้าว

    ตอบลบ